Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

พฤติกรรมการเรียนรู้

Go down

พฤติกรรมการเรียนรู้ Empty พฤติกรรมการเรียนรู้

ตั้งหัวข้อ  CM4869 Wed Feb 09, 2011 10:47 pm

พฤติกรรม
พฤติกรรมคือ กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้า อันเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่รอดของชีวิต
ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมกับความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์
ทำให้สัตว์ปลดปล่อยพฤติกรรมออกมาได้เรียกว่า ตัวกระตุ้นปลด
ปล่อย (Releasing stimulus)
วงจรกระแสประสาทที่ไวต่อตัวกระตุ้นปลดปล่อย เรียกว่า
กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (Releasing mechanism)
ปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเกิดพฤติกรรม
1. หน่วยรับความรู้สึก (Receptor)ส่วนของเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่
ไวเป็นพิเศษต่อสิ่งเร้า
2. ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)ศูนย์รวบรวมข้อมูลและออก
คำสั่ง
3. หน่วยปฏิบัติงาน (Effector)ส่วนของร่างกายที่ใช้ตอบสนอง
สิ่งเร้า
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited behavior หรือ Innate
behavior)
1.1 พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในพืช
1.2 พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในโปรติสต์และสัตว์
- ไคนีซีส (kinesis)
- แทกซิส (taxis)
- รีเฟลกซ์ (reflex)
- รีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflex)
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมแบบง่าย ๆ มีแบบ
แผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละ species พฤติกรรมแบบนี้สามารถ
ถ่ายทอดกรรมพันธุ์ได้ มีทั้งในพืชและสัตว์
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในพืช ได้แก่ การเจริญเข้าหาสิ่ง
เร้าของราก ลำต้น การหุบของใบ การบาน-การหุบของดอกไม้
2. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในโปรติสต์ และสัตว์ มักพบใน
สิ่งมีชีวิตพวกโปรติสต์ (พวกโปรโตซัว) และสัตว์ชั้นต่ำที่ระบบ
ประสาทยังไม่เจริญ คือ
2.1 ไคนีซิส (Kinesis) หมายถึง พฤติกรรมการเคลื่อนที่เข้าหา
หรือหนีจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางไม่แน่นอน สะเปะสะปะ
2.2 แท็กซิส (Taxis) หมายถึง พฤติกรรมของสัตว์ที่เคลื่อนที่
เข้าหาหรือหนีสิ่งเร้าอย่างมีทิศทางแน่นอน เช่น แมลงเม่าบินเข้า
กองไฟ
2.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ (simple reflex) เป็นปฏิกิริยาที่
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไปกระตุ้นในทันที เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
เช่น การกระพริบตาเมื่อมีผงเข้าตา
2.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflexex)
สัญชาตญาณเป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่าง
อัตโนมัติ มีแบบแผนแน่นอน และมีลักษณะเฉพาะในสัตว์แต่ละ
species
พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังอัน
เนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้รับในอดีต
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบ่งออกเป็นหลายประเภทคือ
1. ความเคยชิน (Habituation)เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อ
สิ่งกระตุ้น ที่มิได้มีความหมายต่อการดำรงชีวิต ในที่สุดสัตว์จะ
ค่อยลดพฤติกรรมลงทั้ง ๆ ที่สัตว์ยังคงถูกกระตุ้นอยู่
2. การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioned reflex)เป็นพฤติกรรม
ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 ชนิด คือสิ่งเร้าที่แท้จริง และสิ่งเร้าไม่แท้
จริง ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ผลที่สุดแม้จะใช้เพียงสิ่งเร้าไม่แท้
จริงก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์แสดงการตอบสนองได้
3. การเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trail and error learning)
เป็นพฤติกรรมที่อาศัยการทดลองทำดูก่อนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ถ้าผลการกระทำเป็นที่พอใจ ก็จะทำพฤติกรรมนั้นอีกหากไม่เป็น
ที่พอใจ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่กระทำอีก
4. การฝังใจ (Imprinting)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอันเนื่องมา
จากประสบการณ์แรก ๆ ของชีวิต เกิดความผูกพันและโต้ตอบกับ
สิ่งเร้าชนิดแรกที่รับรู้ได้ในขณะที่เกิดใหม่ ๆ เป็นพฤติกรรมที่
ช่วยให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้โดยได้รับการดูแล
และคุ้มภัยอันตรายจากแม่ของมันในขณะที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่
ค่อยได้
5. การใช้เหตุผล (Reasoning)เป็นพฤติกรรมที่สัตว์แสดงออก
โดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกิดกับสัตว์ที่มีสมอง
ส่วนหน้า(cerebrum) เจริญดี โดยอาศัยประสบการณ์เดิมมา
ประยุกต์
พฤติกรรมทางสังคม (Social behavior) ของสัตว์
พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์ หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์ชนิด
เดียวกัน(species เดียวกัน)ใช้สื่อสารติดต่อกันในหมู่พวกของตน
เช่น
1. การสื่อด้วยท่าทางเช่น การเปลี่ยนสีของปลากัด(ขณะต่อสู้)
สุนัขหางตกเมื่อต่อสู้แพ้ และจะวิ่งหนี ฯลฯ
2. การสื่อด้วยเสียง (sound signal)เช่น ใช้เสียงเรียกคู่เพื่อผสม
พันธุ์ หรือใช้เสียงสำหรับเตือนภัย ใช้เสียงในการนำทาง
3. การสื่อด้วยการสัมผัส (Physical contact)
4. การสื่อด้วยสารเคมี (Chemical signal)ได้แก่ การใช้ฟีโรโมน
เช่น มด จะปล่อยฟีโรโมนซึ่งเป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิก
(formic acid) ทำให้มดงานที่เดินตามหลังรับรู้

CM4869

จำนวนข้อความ : 38
Join date : 26/01/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ