Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

Go down

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต Empty การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

ตั้งหัวข้อ  CM4869 Wed Feb 09, 2011 10:44 pm

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของระบบต่างๆที่เป็นไปตามปกติถ้าหากระบบใดหรืออวัยวะใดที่ทำงานผิดปกติไปก็จะมีผลกระทบกระเทือนไปถึงการทำงานของระบบอื่นๆได้ด้วยการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่นอุณหภูมิความชื้นและอื่นๆ สภาพแวดล้อมมีทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายในเช่น ฮอร์โมนบางชนิด อันได้แก่ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากลูกอัณฑะ , รังไข่ เป็นต้นและยังขึ้นกับอิทธิพลของกรรมพันธุ์ด้วย การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าพืชหรือสัตว์ก็ตามต่างก็มีแบบแผนของการเจริญเติบโตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันดังนั้นในการกล่าวถึงการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆไปจึงมักจะกล่าวถึงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตนั้นมีการเจริญเติบโตที่เริ่มมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียวแล้วแบ่งตัวและให้กำเนิดอวัยวะต่างๆและเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นเป็นแบบแผนตายตัวสำหรับพืชหรือสัตว์แต่ละชนิด (บุษกร, 2542:กฤษณ์ และ อมรา, 2542)
การเติบโต (GROWTH)
การเติบโตเป็นการเพิ่มปริมาณของไซโทพลาซึมของเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งเซลล์อันเป็นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในร่างกายพร้อมกันนั้นก็เพิ่มขนาดของเซลล์อีกด้วยทำให้ขนาดและน้ำหนักของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้น
การพัฒนา (DEVELOPMENT)
การพัฒนาเป็นการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งในรูปร่างลักษณะทางสรีรวิทยา และทางชีวเคมี ทำให้เซลล์มีการแปรสภาพทั้งรูปร่างและหน้าที่ เกิดเป็นเนื้อเยื่อ และเมื่เนื้อเยื่อต่างชนิดกันเคลื่อนที่มาทำงานร่วมกันทำให้เกิดเป็นโครงสร้างของอวัยวะขึ้น ผลคือเกิดเป็นร่างกายขึ้นมา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า DEVELOPMENT นี้ควบคุมถึงคำว่า GROWTH อีกด้วยการพัฒนานั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ ขั้นตอนที่แน่นอนและจำเพาะสำหรับพืชและสัตว์แต่ละชนิด (บุษกร, 2542:กฤษณ์ และ อมรา, 2542)

6.1 กระบวน การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
การเจริญเติบโต เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกระดับ ทั้งทางโครงสร้างและหน้าที่ กระบวนการต่างๆ ของการเจริญเติบโต แบ่งได้ 4 กระบวนการ คือ (นิรนาม, 2549ข)
1. การเพิ่มจำนวนเซลล์
ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว การแบ่งเซลล์ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ เกิดชีวิตใหม่ขึ้น มี หลายแบบ เช่น การ
แบ่งแยกตัวเป็นส่วนๆ การแตกหน่อเป็นต้น ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เช่น การแบ่งเซลล์จากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย สร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า เช่น เซลล์ผิวหนัง
2. การเพิ่มขนาดเซลล์
เป็นกระบวนการสะสมและสังเคราะห์สารอินทรีย์ภายโมเลกุลของเซลล์ ทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่
ขึ้น หรือมีการรวมกันระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุล เป็นผลให้เซลล์ต้องขยายขนาดตามไปด้วย จึงเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เช่นงูจะมีการลอกคราบเมื่อมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์
เนื่องจากในระยะแรกเซลล์อาจจะทำหน้าที่อย่างหนึ่งแต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงาน จึงเกิดการเปลี่ยนสภาพเซลล์ตามไปด้วยเพื่อให้ได้เซลล์ที่สามารถทำหน้าที่ที่ต่างกัน การเปลี่ยนสภาพเกิดทั้งทางกายภาพและชีวเคมี ทั้งในระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบอวัยวะ เซลล์ที่ได้ใหม่จะมีหน้าตาต่างไปจากเซลล์เดิม
4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน
สิ่งมีชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นตัวเต็มวัย เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ รูปร่างตอนโตอาจจะแตกต่างจากตอนแรกเกิดมากหรือไม่เหมือนกันเลย เช่น กบ ผีเสื้อ เป็นต้น การเติบโตในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะหยุดเมื่อโตเต็มวัย โดยการใช้ความสูงที่หยุดเป็นเกณฑ์ ไม่คำนึงว่าน้ำหนักจะเพิ่มหรือลดลง

6.2 ลักษณะการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
การพัฒนาของสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบ คือ NORMAL DEVELOPMENT และ ABNORMAL DEVELOPMENT (บุษกร, 2542)
1. NORMAL DEVELOPMENTเป็นการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตที่เป็นไปตามปกติมีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นหลายอย่างต่อกันตามลำดับคือ
1.1 GROWTH เป็นการเพิ่มปริมาณเพิ่มจำนวนเซลล์และเพิ่มขนาดของเซลล์
1.2 DIFFERENTIATION เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และหน้าที่ไปจากเดิม ขั้นแรกเกิด PHYSIOGENESIS ก่อนซึ่ง PHYSIOGENESIS นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและสรีรวิทยาเกิดขึ้นภายในเซลล์ตลอดเวลา แต่เรามองไม่เห็นเสร็จแล้วจากนั้นก็เกิด MORPHOGENESIS ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของเซลล์การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างลักษณะของตัวอ่อนตั้งแต่ชั้น BLASTULA เป็น GASTRULA เป็นต้น
1.3 MAINTAINANCE เป็นการรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตไปจนชั่วชีวิต เช่น เมื่อคนเราอายุ 19-20 ปี GROWTH และ DIFFERENTIATION ถึงแม้จะหยุดไปแล้ว แต่คงยังมี MAINTAINANCE อยู่ซึ่งหมายถึงว่าทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเซลล์และส่วนต่างๆของร่างกายจะอยู่นิ่งเฉยเท่านั้นร่างกายยังคงมีการเจริญเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิตแต่ทว่าได้ผลลัพธ์ออกมาคงที่
2. ABNORMAL DEVELOPMENTการพัฒนาที่ผิดปกติไปนั้นอาจเกิดขึ้นเสมอ และไม่จำเป็นต้องเจ็บป่วยแต่อย่างใดคือ
2.1 เกิดจากหน่วยกรรมพันธุ์ (GENE) ที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาจาก ปู่ย่า ตา ยาย พ่อ และแม่ เป็นต้น
2.2 เกิดจากตัวอ่อน เช่นตัวอ่อนขณะมีการแบ่งเซลล์ จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์แล้วปรากฏว่าเซลล์ทั้ง 2 นั้นขาดจากกันโดยเด็ดขาดโดยที่ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์ก็จะทำให้เซลล์แต่ละเซลล์นั้นเจริญเติบโตไปเป็นตัวอ่อน 2 ตัว หรือกลายเป็นฝาแฝดไป
2.3 เกิดในผู้ใหญ่ขณะที่มีการเจริญเติบโตถึงขั้น MAINTAINANCE เช่นถ้ามีการกระตุ้นให้การแบ่งเซลล์ซึ่งตามปกติในชั้นนี้ส่วนใหญ่ จะไม่มีการแบ่งเซลล์ของร่างกายเกิดขึ้นแล้วครั้นมีอะไรไปกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ก็จะทำให้มีการแบ่งเซลล์กันอย่างมากมายจนกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งไป

6.3 เอมบริโอของพืชและการพัฒนาของพืช
หลังจากเกิดการปฏิสนธินิวเคียสของไซโกตและนิวเคียสของเอนโดสเปิร์มจะแบ่งตัวแบบไมโทซิส พัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอและเอ็นโดสเปิร์มต่อไปส่วนรังไข่จะพัฒนาไปเป็นผล และออวุลจะพัฒนาเป็นเมล็ดอยู่ภายในผล (มลธิรา, 2549)
ส่วนประกอบของเมล็ด (Seed)
1. Seed coat (เปลือกหุ้มเมล็ด) เกิดมาจากเยื่อที่หุ้มไข่(integument) ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับ
เอมบริโอ ป้องกันการสูญเสียน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกหนาเหนียว และแข็ง เรียกว่า เทสตา (testa) ส่วนเปลือกชั้นในมักเป็นเยื่อบาง ๆ เรียกว่า เทกเมน (tegmen)
2. Endosperm (เอมโดสเปิร์ม) ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน โปรตีน และน้ำตาล ให้แก่
เอมบริโอ(ต้นอ่อน)
3. Embryo เจริญจากไซโกต มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
- Cotyledon (ใบเลี้ยง) มีหน้าที่เก็บสะสมอาหารให้แก่เอมบริโอ และป้องกันการบุบสลายของ
เอมบริโอขณะที่มีการงอก
- Caulicle (ลำต้นอ่อน) ประกอบ 2 ส่วนคือ ลำต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง เรียกว่า เอปิคอติล(epicotyl)
มีส่วนปลายสุดเรียกว่า ยอดอ่อน ซึ่งเจริญเป็นลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และดอก ส่วนลำต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง เรียกว่า ไฮโปคอตอล (hypocotyl) มีส่วนปลายสุดเรียกว่า รากอ่อน จะเจริญเป็นรากแก้ว
เมล็ด เป็นแหล่งสะสมสารพันธุกรรมของพืชชนิดนั้น ๆ และสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้

รูปที่ 1 องค์ประกอบของเมล็ด (Ronald, 2004)

ลักษณะการงอกของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การงอกที่ชูใบเลี้ยงขึ้นมาเหนือดิน (Epigeal germination) รากอ่อนงอกโผล่พ้นเมล็ดออกทางรูไม
โครโพล์(micropyle) เจริญสู่พื้นดินจากนั้น ไฮโปคอติล(hypocotyl) จะงอกและเจริญยึดยาวตามอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนของใบเลี้ยง(cotyldon) กับ เอปิคอติล(epicotyl) ขึ้นมาเหนือดิน เช่น การงอกของพืชในเลี้ยงคู่ต่าง ๆ
2. การงอกที่ใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน (Hypogeal germination) พบใน พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชพวกนี้มีไฮโป
คอติล(hypocotyl) สั้น เจริญช้า ส่วนเอปิคอติล(epicotyl) และยอดอ่อน (plumule) เจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด หญ้า ฯลฯ


รูปที่ 2 การงอกแบบ Hypogeal germination และ Epigeal germination (นิรนาม, 2549ค)

การพักตัวของเมล็ด (Dormancy)หมายถึง สภาพที่เอมบริโอในเมล็ดสามารถคงสภาพและมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกิดการงอก
สาเหตุของการพักตัวของเมล็ด
1. เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนาเกินไป
2. เมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอก
3. เอมบริโอในเมล็ดยังเจริญไม่เต็มที่
4. เอมบริโอพักตัว
6.4 การพัฒนาเอมบริโอในสัตว์
เอมบริโอของสัตว์มีการเจริญ 2 แบบ คือ (มลธิรา, 2549)
1. พวกเอมบริโอทีเจริญนอกตัวแม่ จะมีส่วนที่ช่วยป้องกันอันตราย เช่น ไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม ไข่กบมีวุ้นหุ้ม
2. พวกเอมบริโอที่เจริญในตัวแม่ แม่จะเป็นผู้คุ้มภัยให้กับเอมบริโอ เช่น ปลาฉลาม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
กระบวนการเจริญเติบโตของเอมบริโอของสัตว์ชั้นสูง
ไข่เมื่อได้รับการผสมแล้วจะกลายเป็นไซโกต (ZYGOTE) แล้วมีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส ไซโกตจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกัน 4 ระยะ คือ
1. CLEAVAGE เริ่มจากไซโกตแบ่งตัวจาก 1 – 2 – 4 - 8 ... จนกระทั้งเซลล์มาเกาะกันเป็นก้อนกลมๆเรียกก้อนกลมๆนี้ว่า โมรูลา (MORULA)
2.BLASTULA เป็นตัวอ่อนในระยะที่มีการเคลื่อนที่ของเซลล์เพื่อให้ได้ช่องว่างในตัวอ่อนเรียกช่องว่างนี้ว่า BLASTOCOEL และเรียกเซลล์ที่ล้อมช่องว่างว่า BLASTODERM ลักษณะของตัวอ่อนตอนนี้คล้ายผลน้อยหน่า
3.GASTRULA เป็นตัวอ่อนที่ต่อจากระยะ BLASTULA คือ เซลล์แบ่งตัวแล้วเคลื่อนที่เข้าข้างในเห็นตัวอ่อนเป็นรูปถ้วย ซึ่งดูคล้ายมีผนัง 2 ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นในและในตอนนี้จะเห็นมีช่องว่าง 2 ช่อง คือ BLASTOCOEL และ ARCHENTERON ซึ่งช่อง ARCHENTERON ต่อไปจะเจริญไปเป็นทางเดินอาหาร ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อแทรกระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่นี้คือเนื้อเยื่อชั้นกลางในตอนท้ายระยะ GASTRULA จะมีการสร้างระบบประสาทขึ้น
4. DIFFERENTIATION คือขบวนการที่เนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก (ectoderm) ชั้นกลาง (mesoderm) ชั้นใน (endoderm) เปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างต่างๆของร่างกายคือ
Ectoderm (เนื้อเยื่อชั้นนอก) เปลี่ยนแปลงไปเป็น
- ผิวหนัง ขน เขา เล็บ เกล็ด กีบเท้าสัตว์
- ระบบประสาท(สมอง,ไขสันหลัง)
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และส่วนกลาง
- สารเคลือบฟัน ต่อมน้ำลาย
- ต่อมหมวกไตชั้นใน ต่อมใต้สมองส่วนท้าย
Mesoderm (เนื้อเยื่อชั้นกลาง) เปลี่ยนแปลงไปเป็น
- ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ
- ระบบหมุนเวียนโลหิต (หัวใจ เส้นเลือด เลือด ม้าม)
- ระบบขับถ่าย (ไต)
- ระบบสืบพันธุ์ (อัณฑะ รังไข่)
Endoderm (เนื้อเยื่อชั้นใน) เปลี่ยนแปลงไปเป็น
- ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร, ลำไส้ , ตับ , ตับอ่อน)
- ระบบหายใจ (หลอดลม , ปอด)
- ต่อมทอนซิล หูส่วนกลาง ต่อมไทรอยด์
- ต่อมพาราไทรอยด์ อัลแลนตอยด์ ถุงไข่แดง
- กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
- เซลล์ที่จะเจริญเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (primordial germ cell)
การเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในระยะ CLEAVAGE นั้นคล้ายกับสัตว์อื่นๆ แต่ใน
ระยะ BLASTULA ไข่ที่เป็น ISOLECITHAL คือพวกที่มีไข่แดงน้อยและกระจายอยู่ทั่วไปภายในเซลล์จะมีช่องที่เรียกว่า BLASTOCYST CAVITY ส่วนกลุ่มเซลล์ที่เห็นเรียงตัวกันอยู่รอบนอก เรียกว่า TROPHOBLAST และยังมีกลุ่มเซลล์อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ทางด้านใน เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า INNER CELL MASS
การพัฒนาเอมบริโอในมนุษย์
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อตัวอ่อนเริ่มอยู่ในระยะ GASTRULA INNER CELL MASS จะแบ่งตัวทางด้านล่างแล้วแยกตัวออกเป็นแผ่น ตอนนี้จะเห็นมีแผ่นแยกกัน 2 แผ่น เรียกแผ่นที่อยู่ข้างบนว่า EPIBLAST และแผ่นที่อยู่ข้างล่างเรียกว่า HYPOBLAST ต่อมา EPIBLAST จะแยกตัวออกจากกันจะเห็นมีช่องอยู่ตรงกลาง เรียกช่องนี้ว่า AMNION CAVITY ระยะนี้ตัวอ่อนจะเริ่มฝังตัวในมดลูก ในคนก็ประมาณวันที่ 7-8 หลังจากการปฎิสนธิโดยที่ TROPHOBLAST จะแผ่ออกคล้ายนิ้วมือ แล้วฝังตัวเกาะกับมดลูก ต่อมา TROPHOBLAST จะกลายไปเป็นรก ส่วน HYPOBLAST ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง จะแยกตัวออกเห็นเป็นช่องว่างตรงกลาง เรียกช่องนี้ว่า YOLK SAC เพราะฉะนั้นบริเวณที่เป็น EPIBLAST และ HYPOBLAST ตรงกลางจะกลายเป็นตัวอ่อนต่อไป ประมาณวันที่ 17 จะมีตุ่มเกิดขึ้นบนแผ่นตัวอ่อน ซึ่งจะกลายเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ เนื้อเยื่อของตัวอ่อนมี 3 ชนิดคือ
เนื้อเยื่อชั้นนอก จะเจริญเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสมอง ตาหู ไขสันหลัง ผิวหนังและอื่นๆ
เนื้อเยื่อชั้นกลาง จะเจริญเปลี่ยนแปลงกลายเป็น กล้ามเนื้อ หัวใจ กระดูก และอื่นๆ
เนื้อเยื่อชั้นใน จะเจริญเปลี่ยนแปลงกลายเป็น อวัยวะภายในต่างๆ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ เป็นต้น



ประมาณวันที่ 18 – 19 ตัวอ่อนจะยาว 1-1.5 ม.ม และรูปร่างจะเปลี่ยนแปลงเกิดสันนูนตามความยาว
ของลำตัว ตรงกลางเห็นเป็นร่อง ซึ่งต่อไปร่องนี้จะเจริญเป็นระบบประสาท ปลายสัปดาห์ที่3 ตัวอ่อนจะยาว 2 ม.ม ส่วนหัวเจริญมากขึ้นเห็นส่วนของสมอง ปลายสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นส่วนที่จะกลายเป็น ตับ และหัวใจ สัปดาห์ที่ 5 เริ่มเห็นมีตุ่มแขนและขางอกออกมา ส่วนแขนเจริญเร็วกว่าส่วนขาปลายสัปดาห์ที่ 6 ส่วนแขนเจริญมากขึ้น มีการสร้างปากและใบหู ปลายสัปดาห์ที่ 8 ทารกในครรภ์เริ่มมีอวัยวะเพศ เดือนที่ 3 เห็นอวัยวะเพศพอที่จะบอกเพศได้ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 50 กรัม เดือนที่ 4 เริ่มมีขนอ่อนปกคลุมร่างกายทารก ระหว่างเดือนที่ 5 – 8 ทารกจะมีขนมากขึ้นและมีไขมันเกาะอยู่ตามตัว เดือนที่ 9 ขนตามตัวทารกร่วงไป คงเหลือเฉพาะที่ศีรษะ สีของผิวหนังซีดลงเล็บยาวถึงปลายนิ้วทารกเตรียมตัวพร้อมที่จะคลอด
อาหารสะสมสำหรับเอมบริโอ
1. พืช อาหารจะเก็บสะสมอยู่ในใบเลี้ยง(cotyledon) หรือในเอนโดสเปิร์ม(endosperm) เมื่องอกพ้นเมล็ดมีใบที่แท้จริง ก็จะสามารถสร้างอาหารได้โดยการสังเคราะห์แสง
2. ไข่หอยเม่น (เม่นทะเล) เซลล์ไข่มีขนาดเล็ก มีปริมาณไข่แดงน้อยมาก เอมบริโอจึงเจริญในไข่เพียงระยะสั้น ใช้เวลาประมาณ 35-40 ชั่วโมงเท่านั้นก็ฟักออกจากไข่และหาอาหารได้ทันที
3. กบ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงปานกลาง ใช้เวลาประมาณ 6 วันหลังจากการปฏิสนธิ เอมบริโอจะเจริญเป็นลูกอ๊อด (tadpole) และสามารถหาอาหารกินเองได้
4. ไก่ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงมาก ถือว่าเป็นอาหารสะสมไว้เลี้ยงเอมบริโอ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 21 วัน
5. คน เซลล์ไข่มีขนาดเล็กกว่าสัตว์อื่น ๆ ได้อาหารจากผนังมดลูกของแม่ ไม่ได้รับอาหารจากไข่แดง

6.5 อิทธิพลที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ (นิรนาม, 2549ก)
1. ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สามารถแสดงออกได้ในสภาพแวดล้อมที่ยอมให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้เช่น พืชที่มีช่วงกลางวันสั้น อาจมีความสามารถการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อสร้างดอกที่มีรูปร่างและสีสันต่างกัน ความสามารถนี้จะแสดงออกไม่ได้ถ้าเก็บพืชไว้ในที่มีกลางวันยาว พืชมีความสามารถในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ได้จะสังเคราะห์แสงไม่ได้ถ้าเก็บไว้ในที่มืดอย่างไรก็ตามถ้าพืชขาดความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น เห็ด ราจะไม่สามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ได้ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไรก็ตาม
ความสามารถของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมขึ้นอยู่กับรหัสพันธุกรรมซึ่งได้แก่ ดีเอ็นเอ หรือจีน
2.สิ่งแวดล้อม
ขบวนการเมทตาบอลิซึมจะเกิดได้ต่อเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้นเช่นขบวนการสังเคราะห์แสงจะเกิดได้ จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้คือแสงคาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟิลล์ เกลือแร่ น้ำเป็นต้น
การสังเคราะห์แสงและการหายใจ มีผลต่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต มีทั้งสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและทางกายภาพ
1. ปัจจัยทางชีวภาพปฏิกิริยาการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตสองชนิดมีผลต่อการดำรงชีวิตทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต เช่น ปรสิต ไม่ทำให้ผู้ถูกอาศัยตายก็มักหยุดยั้งการเจริญเติบโตผู้ถูกอาศัย เช่นแมลงและราทำให้เกิดปมในพืชก็จะทำให้รูปร่างลักษณะของผู้ถูกอาศัยเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยาและสารเคมีต่าง ๆ
2. ปัจจัยทางกายภาพ ที่สำคัญได้แก่พลังงานต่าง ๆและสารเคมี
2.1 ปัจจัยเกี่ยวกับพลังงานต่าง ๆพลังงานได้แก่ ความร้อนที่มีผลต่ออุณหภูมิ แสง การส่งรังสีของแม่เหล็กไฟฟ้า แรงดึงดูดของโลก เสียง ไฟฟ้าแม่เหล็กและพลังงานจลน์
อุณหภูมิมีอิทธิพลต่ออัตราการเจริญของพืชทำให้กระบวนการมแทบอลิซึมเปลี่ยนแปลงไปโดยทั่วไปอัตราของเมตาบอลิซึมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เอนไซม์จะไม่ทำงาน และที่ 60 องศาเซลเซียส เอนไซม์ส่วนมากจะถูกทำลาย อาจทำให้สิ่งมีชีวิตถึงตายจะมีแต่สปอร์และเมล็ดแห้งๆเท่านั้นที่มักอยู่รอดได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิสูง ๆรวมทั้งแบคทีเรียที่ทนความร้อนได้และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
จะเห็นว่าอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชขึ้นกับชนิดของพืชพืชในเขตอบอุ่นจะมีอุณหภูมิพอเหมาะสูงกว่าพืชในเขตอาร์คติกส่วนพืชในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะสูงที่สุดในเขตอาร์คติกพืชที่มีอุณหภูมิพอเหมาะราว 10 องศาเซลเซียส แต่ก็อาจเจริญเติบโตได้เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อยส่วนพืชในเขตอบอุ่นปกติที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียสจะเจริญเติบโตไม่ได้ที่อุณหภูมิพอเหมาะระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียสส่วนพืชในเขตร้อนโดยทั่วไปมีอุณหภูมิค่าต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียสส่วนอุณหภูมิพอเหมาะประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส
ดังนั้นอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะกำหนดบริเวณที่พืชจะเจริญเติบโตได้ตามที่ทราบแล้วพืชบางชนิดสามารถงอกได้ที่อุณหภูมิต่ำที่สุดของโลกขณะที่บางพวกแม้แต่แสงในตู้เย็นก็ทำให้พืชตายได้
สำหรับสเปกตรัม (SPECTRUM) ของการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้า มีตั้งแต่รังสีคอสมิก ไปจนถึงคลื่นวิทยุแสงซึ่งเป็นช่องของสเปกตรัมที่เห็นได้ เป็นแถบแคบ ๆแต่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชในธรรมชาติ มากกว่าช่วงอื่น ๆของสเปกตรัม
สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตเมื่อถูกดูดกลืนโดยสารที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตอาจยอมให้แสงผ่านหรือสะท้อนแสงได้
พืชที่ถูกดูดกลืนรังสีอินฟาเรดโดยการเพิ่มอุณหภูมิ พืชยังดูดกลืนคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นคลื่นยาวไม่ได้แต่คลื่นสั้นที่มีความเข้มสูงมีผลต่อพืชและสัตว์
รังสีที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าแสงได้แก่ รังสีเหนือม่วง รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีคอสมิกรวมทั้งอนุภาคของธาตุกัมมันตรังสี ทำให้สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงได้โดยการแตกตัวเป็นไอออนของสาร ซึ่งมีผล 2 ประการ ได้แก่เกิดการผ่าเหล่าและมีผลต่อรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตโดยตรงรังสีเหนือม่วงโดยเฉพาะพวกคลื่นสั้นอาจทำให้จุลินทรีย์ตายแต่พืชขนาดใหญ่มีผลน้อยมากรังสีเหนือม่วงถูกดูดกลืนไปกับบรรยากาศของโลก
การสังเคราะห์แสงเกี่ยวข้องกับรงควัตถุหลายอย่างเช่น คลอโรฟิลด์ แคโรทีนแซนโทฟิล ไฟโคไซยานิน (PHYCOCYANIN) และ ไฟโคอิรายทิน (PHYCOERYTHRIN) นอกจากนี้การสังเคราะห์แสงมีบทบทสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชสีเขียวโดยการจัดหาอาหารที่จำเป็นสำหรับการหายใจและสะสมอัตราการสังเคราะห์แสงต่ำจะทำให้การเจริญเติบโตช้าจึงต้องมีการเพิ่มแสงเพื่อสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ในพืชชั้นสูง
รงควัตถุที่เป็นตัวรับแสงในโฟโตโทรปิซึม(PHOTOTROPISM) เนื่องจากแสงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจริญเติบโตโค้งงอเป็นสารสีเหลืองอาจเป็นไรโบฟลาวิน หรือแคโรทีนในลำต้นมีการเจริญเติบโตโค้งงอเข้าหาแสงส่วนใหญ่รากมีการเจริญเติบโตหนีแสง
แรงดึงดูดของโลกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชคือ รากเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลกส่วนลำต้นเจริญเติบโตหนีแรงดึงดูดของโลก
คลื่นเสียงรวมทั้งดนตรีมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชการสั่นสะเทือนของอุลตราโซนิคซึ่งเป็นคลื่นที่มีความถี่สูงกว่าความถี่คลื่นเสียงที่คนได้ยินคือสูงกว่า 20,000 เฮิร์ตซ์ คลื่นเสียงนี้อาจทำให้จุลินทรีย์ตายได้ทั้งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยและอาจทำให้พืชได้รับความเสียหายได้
ในธรรมชาติไฟฟ้ามีอิทธิพลต่อพืชไฟฟ้าสถิตมีอิทธิพลต่อความต่างศักย์ภายในเชลล์และอวัยวะความเข้มสูงของสนามแม่เหล็กมีอิทธิพลต่อจุลินทรีย์ด้วย
สำหรับพลังงานจลน์มีอิทธิพลต่อพืชการไหลของอากาศและน้ำ มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชการสังเคราะห์แสงการหมุนเวียนของอากาศที่สัมผัสที่ใบและลำต้นช่วยลดความเข้มของไอน้ำ และเพิ่มความเข้มของคาร์บอนไดออกไซด์
2.2 ปัจจัยเกี่ยวกับสารเคมี ชีวิตจะประสบความสำเร็จได้ต้องปรับตัวให้เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตต้องมีการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ด้วยตัวควบคุมการทำงานนี้ได้แก่ ฮอร์โมนและสารที่เกี่ยวข้อง
2.2.1สารเคมีที่มีผลต่อการเจริญในสัตว์
ได้แก่ ฮอร์โมนฮอร์โมนจัดเป็นสิ่งแวดล้อมภายในของสิ่งมีชีวิตนั่นเองซึ่งมีความแตกต่าง
กันในสัตว์ชั้นสูงและชั้นต่ำ
- สัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก (EXOSKELETON) ต้องมีการเจริญเติบโตเป็นช่วง ๆ โดยการลอกคราบ (MOLTING) และมีกระดองที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแทนที่ กระบวนการนี้เรียก เอคไดซีส (ECDYSIS) การเจริญเติบโตเกิดรวมกับการลอกคราบ โดยมีฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเอคไดโซน (ECDYSONE) และฮอร์โมนวัยรุ่น (JUVENILE HORMONE)
- วงชีวิตของแมลงพวกตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะเจริญจนกระทั่งเป็นตัวโตเต็มวัย (ADULT) เป็นขั้น ๆแต่ละขั้นจะมีการลอกคราบ ระหว่างที่แมลงกำลังมีการเจริญเติบโตต่อไปได้เป็นระยะที่โตไม่เต็มวัยเป็นช่วงของการใช้อาหารและมีการสะสมอาหารไว้เพื่อการเจริญเติบโตต่อไปเมื่อถึงระยะโตเต็มวัยการเจริญเติบโตจะหยุด
- สัตว์ชั้นสูงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตจะหยุดต่างจากในสัตว์ชั้นต่ำโดยเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจะรู้จักกันดีกว่าฮอร์โมนในสัตว์อื่น ๆเป็นเพราะส่วนใหญ่เราสนใจหน้าที่ของฮอร์โมนของคนนั่นเองพวกสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น นก และปลา มีระบบฮอร์โมนคล้าย ๆ กันปลามีโครงสร้างที่สร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่านกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้แก่ ต่อม ฮอร์โมนใต้สมองและต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญและผลิตโดยต่อมใต้สมองส่วนหน้าได้แก่ กลุ่มฮอร์โมน โกน่าโดโทรฟิน (GONADOTROPHIN) ประกอบด้วย ฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนกระตุ้น ฟอลลิเคิล (FOLLICLE STIMULATING HORMONE) มีชื่อย่อว่า FSH และฮอร์โมนลูติไนซ์ (LUTEINIZING HORMONE) มีชื่อย่อว่า LH
นอกจากนี้สารเคมียังมีบทบาท รีเจเนอเรชัน (REGENERATION) ซึ่งเป็นการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะขึ้นมาแทนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเก่าที่หลุดหรือขาดออกไปตัวอ่อนของสัตว์เกือบทุกชนิดมีความสามารถในการสร้างส่วนที่ขาดหายไปสัตว์บางอย่างเมื่อโตเต็มวัยแล้ว ยังมีสมบัตินี้อยู่ปลาดาวและไฮดราเมื่อถูกสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หลายชิ้นแต่ละชิ้นจะงอกส่วนที่หายไปเป็นเต็มตัวได้ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่สามารถงอกอวัยวะใหม่ได้ ได้แต่รักษาบาดแผลได้เท่านั้น
2.2.2สารเคมีที่มีผลต่อการเจริญในพืช
การเจริญเติบโตของพืชและการเปลี่ยนรูปเป็นโครงสร้างต่าง ๆ ถูกควบคุมโดยสารเคมีที่
เรียก ฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนพืชต่างจากฮอร์โมนสัตว์หลายประการกล่าวคือมีการสร้างโดยเซลล์ที่ไม่ได้รวมเป็นต่อมและเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์หนึ่งมากกว่าจะเคลื่อนที่ไปทางเนื้อเยื่อลำเลียงนอกจากนี้ผลของฮอร์โมนพืชเกิดทั่วไปมากกว่าเกิดเฉพาะแห่ง เช่นฮอร์โมนสัตว์ส่วนมากที่เจาะจงควบคุมการทำงานเฉพาะอย่าง
ฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ในพืชได้แก่ ออกซิน (AUXIN) จิบเบอเรลลิน (GIBBERELLIN) และไซโทไคนิน (CYTOKININ ) ฮอร์โมนเหล่านี้มีโครงสร้างทางเคมีพื้นฐานต่างกันอย่างเห็นได้ชัดแต่มีหน้าที่บางอย่างเหมือนกัน และทำงานร่วมกันก็มี
นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่พืชสร้างอีกหลายอย่างที่มีอิทธิพลเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นรวมทั้งสารที่ดอกและผลสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดแมลงไปจนถึงหน้าที่ที่เหมือนฮอร์โมนวัยรุ่นของแมลง เช่นทานตะวันสามารถสร้างสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งใบและรากของทานตะวัน มีสารที่ชลอการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดได้นั่นเอง
อย่างไรก็ดีการเจริญเติบโตของพืชที่เป็นออโตโทรฟต้องการสารอนินทรีย์ธรรมดาจากสิ่งแวดล้อมในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ได้แก่แก๊สในบรรยากาศหลายชนิด แร่ธาตุ และน้ำ แต่ที่จำเป็นจริง ๆ ได้แก่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ในการสั่งเคราะห์แสง และแก๊สออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจแบบใช้ออกซิเจนรวมทั้งแก๊สไนโตรเจนสำหรับพวกเห็ดราและพืชที่เป็นเฮเตอโรโทรฟ ก็เหมือนในสัตว์คือต้องได้รับอาหารจากสิ่งแวดล้อมโดยตรงซึ่งในบางกรณีอาจต้องได้รับวิตามินจากสิ่งแวดล้อมด้วย
สารอื่นที่มีในสิ่งแวดล้อมอาจมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยทั่วไปเป็นในทางที่เป็นอันตราย พวกนี้ทำให้เกิดมลภาวะ (POLLUTION) ในบรรยายกาศเช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) คาร์บอนมอนออกไซด์ (CARBONMONOXIDE) CO และไฮโดรคาร์บอน (HYDOCARBON) หลายอย่างพอ ๆ กับธาตุที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่วหรือสารหนูหรือแม้แต่ธาตุจำเป็น เช่น ทองแดง และโบรอนถ้ามีมากเกินไปจะกระทบกระเทือนการเจริญเติบโตของพืชได้ สารเคมีในการเกษตร เช่นยาฆ่าวัชชพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าราก็เช่นกันต่างก็มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตต่อพืชทั้งนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ไม่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง
กฤษณ์ มงคลปัญญา และ อมรา ทองปาน. 2542. ชีววิทยา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นิรนาม. 2549ก. การพัฒนา. (cited 13 June 2006) Available from: URL: http://www.qru.ac.th/
courseware/science/4031101/intro.html
บุษกร ฉิ่งเล็ก. 2542. ชีววิทยาทั่วไป 1. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
บุรีรัมย์.
มลธิรา บุญเรือง. 2549. การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (Development). (cited 28 July 2006) Available
from: URL: http://61.19.145.7/student/science401/bio/bio1-3/c.htm.
นิรนาม. 2549ข. การเจริญเติบโต. (cited 13 June 2006) Available from: URL: http://www.msu.ac.th/
satit/studentProj/2546/M105/BIOLOGY/page13.htm.
นิรนาม. 2549ค. Index of /images. (cited 28 July 2006) Available from: URL: http://www.ihrs.ac.uk/
images/beans.gif.
Ronald C. Smith. 2004. Home PropagationTechniques. (cited 28 July 2006) Available from: URL:
http://www.ext.nodak.edu/extpubs/plantsci/landscap/h1257w.htm.





แบบฝึกหัด
1. บอกความแตกต่างของการเติบโตกับการพัฒนา
2. ลักษณะการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต มีกี่แบบ อะไรบ้างอธิบาย
3. เมล็ดประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
4. การงอกของเมล็ดมีกี่แบบ อะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
5. กระบวนการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของสัตว์ชั้นสูงมีขั้นตอนอย่างไร อธิบาย
6. กระบวนการพัฒนาเอมบริโอในมนุษย์เป็นอย่างไร ออธิบาย
7. อิทธิพลที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์มีอะไรบ้าง
8. จงบอกถึงฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ในพืช
9. Ectoderm จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรบ้าง
10. Mesodarm จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรบ้าง
11. Endoderm จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรบ้าง
12. การสืบพันธุ์
...........................................................
...............การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันโดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไปทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์
การสืบพันธุ์มี 2 วิธีคือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
...............1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
...............เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิมอาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีสหรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการการสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียวและพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูง
...............เป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุดพบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดีทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการแต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด
ขั้นตอนการสืบพันธุ์

..............................

...............1. การแตกหน่อ (Budding)
...............เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำโดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมาแล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพังสัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการังและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ
ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
13. ...............-โพรติสต์หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือส

CM4869

จำนวนข้อความ : 38
Join date : 26/01/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ