Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ระบบหมุนเวียนโลหิต

Go down

ระบบหมุนเวียนโลหิต Empty ระบบหมุนเวียนโลหิต

ตั้งหัวข้อ  CM4869 Wed Feb 09, 2011 10:41 pm

ระบบหมุนเวียนโลหิต
เมื่อ จันทร์, 03/01/2011 - 13:35 | แก้ไขล่าสุด จันทร์, 03/01/2011 - 23:04 | By sss27848

ระบบหมุนเวียนโลหิต
การหมุนเวียนของเลือดจะเกี่ยวข้องกับเลือด หัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากในเลือดมีสารอาหารต่างๆ และมีแก๊สออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับ
สารอาหารทำให้สารอาหารปล่อยพลังงานน้ำ และ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
เลือด (blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลวมี 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “น้ำเลือดหรือพลาสมา(plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่างๆ ที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไป
ให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
2. เซลล์เม็ดเลือด ประกอบด้วย
2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell) มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน(คล้ายขนมโดนัท) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียสองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า
“ฮีโมโกลบิน(hemoglobin)” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นจึงมีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแก๊สออกซิเจน
ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอด แหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง
เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 110 – 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว(white blood cell) มีลักษณะค่อนข้างกลมไม่มีสี และ มีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามา
สู่ร่างกาแหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7 – 14 วัน
3. เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (blood pletelet)
ไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ ซึ่งมีรูปร่างกลมรี และ แบน เกล็ดเลือดมีอายุประมาณ 4 วัน ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
หัวใจ
หัวใจ(heart)ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึงวงจรการ
ไหลเวียนเลือดเริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอด แล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย แล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายและเปลี่ยน
เป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงหรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวา แล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย เช่น นี้ตลอดไป
หลอดเลือด

หลอดเลือด
ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด
1. หลอดเลือดแดง(artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายหลอดเลือดแดงมีผนังหนา แข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดง
เป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง หรือ เรียกว่า “เลือดแดง”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอด ภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือ
เรียกว่า “เลือดดำ”
2. หลอดเลือดดำ(vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดดำมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ
เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือนที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย(capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย
และมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์

ความดันเลือด
ความดันเลือด (blood pressure) ขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดง ดังนี้ ความดันของหลอด
เลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอ ความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรของ
ปรอท(mmHg) เป็นค่าตัวเลข 2 ค่า คือ ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวและค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท ตัวเลขค่าแรก 110 คือค่าของความดันเลือด
สูงสุด ขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่า “ความดันซิสโทลิก” ตัวเลขค่าหลัง 70 คือค่าของความดันเลือดต่ำสูดที่หัวใจคลายตัว เรียกว่า “ความดันไดแอสโทลิก”
เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “มาตรความดันเลือด” จะใช้คู่กับสเตตโทสโคป(stetoscope)โดยจะวัดความดันที่หลอดเลือดแดง ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือกออก
จากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะที่หัวใจรับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรของปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการเช่น หลอดเลือดตีบตัน
คอเลสเทอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธ ทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา
ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจโดยตรง
ชีพจร หมายถึงการหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้นเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติ
อัตราการเต้นของชีพจรในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุและกิจกรรมที่ทำอีกด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
2. เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือดค่อนข้างสูง
3. ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
4. อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่าย ทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
5. คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง



ระบบขับถ่าย
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
สาเหตุของอาการท้องผูก
กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
กินอาหารรสจัด
การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
สูบบุหรี่จัดเกินไป
เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิด อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
การขับถ่ายของเสียทางปอด
เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก ร่างกายทางจมูก
การขับถ่ายของเสียทางไต
จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ
คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
ระบบขับถ่าย
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
สาเหตุของอาการท้องผูก
กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
กินอาหารรสจัด
การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
สูบบุหรี่จัดเกินไป
เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิด อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
การขับถ่ายของเสียทางปอด
เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก ร่างกายทางจมูก
การขับถ่ายของเสียทางไต
จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ
คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
ระบบประสาท
เมื่อ จันทร์, 03/01/2011 - 13:58 | แก้ไขล่าสุด จันทร์, 03/01/2011 - 23:11 | By sss27848

ระบบประสาท
ระบบประสาท (nervous system) คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถ
ตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำ ไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อน
ยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก

ระบบประสาทส่วนกลาง
ระบบประสาทส่วนกลาง(the central nervous systemหรือ somatic nervous system ) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้
อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง โดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลาง มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. สมอง(brain) เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญา
การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆ สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1.1 เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์(cerebrum hemisphere) คือสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด
เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส เป็นต้น
1.2 เมดัลลาออบลองกาตา(medulla oblongata) คือส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การไอ การจาม
การกะพริบตา ความดันเลือด เป็นต้น
1.3 เซรีเบลลัม(cerebellum) คือสมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ เช่น การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน เป็นต้น
2.ไขสันหลัง (spinalcord) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้า
และกระแสประสาทออกจากสมอง และกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรง
3. เซลล์ประสาท(neuron) เป็นหน่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่นๆ แต่มีรูปร่างและลักษณะแตกต่าง
ออกไปเซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบคือ เดนไดรต์(dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน(axon)ทำหน้าที่นำกระแสประสาท
ออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่การทำงานได้ 3 ชนิด คือ
3.1 เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส เช่น จมูก ตา หู ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
3.2 เซลล์ประสาทประสาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาทสั่งการ พบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
3.3 เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลที่เส้นประสาทนำไปยังระบบประสาทส่วนกลางเรียกว่า “กระแสประสาท” เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์ และเดินทางออก
อย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้
กระแสประสาทช้าลง ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี


ระบบประสาทรอบนอก
ระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous system) ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง จากนั้นนำกระแสประสาทสั่ง
การจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบดังนี้
1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนวัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง ได้แก่ การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน(reflex action) และเมื่อมี
สิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง กระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลัง และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อโดยไม่ผ่านไปที่สมอง ดังรูป เมื่อมีเปลวไฟมา
สัมผัสที่ปลายนิ้ว กระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปยังไขสันหลังโดยไม่ผ่านไปยังสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที

พฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นปฏิกิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อการตอบโต้ต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น
- สิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
- สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
กิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบต่อมมีท่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตอบสนองเมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า
- เมื่อได้รับแสงสว่างจ้า มนุษย์จะมีพฤติกรรมการหรี่ตาเพื่อลดปริมาณแสงที่ตาได้รับ
2. การตอบสนองเมื่ออุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า
- ในวันที่มีอากาศร้อนจะมีเหงื่อมาก เหงื่อจะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกายไม่ให้สูงเกินไป
- เมื่อมีอากาศเย็นคนเราจะเกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือ เรียกว่า”ขนลุก”
3. เมื่ออาหารหรือน้ำเข้าไปในหลอดลมเกิดพฤติกรรมการไอหรือจาม เพื่อขับออกจากหลอดลม
4. การเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองหรือตอบโต้ทันทีเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย เช่น
- เมื่อฝุ่นเข้าตามีพฤติกรรมกะพริบตา
- เมื่อสัมผัสวัตถุร้อนจะชักมือจากวัตถุร้อนทันที
- เมื่อเหยียบหนามจะรีบยกเท้าให้พ้นหนามทันที

ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญระบบหนึ่งของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายใน ร่างกายให้ทำงานประสานกัน โดยอาศัยสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนจะถูกขนส่งไปสู่ อวัยวะทั่วร่างกาย แต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะและเซลล์
บางตัวเท่านั้น ซึ่งต่อมไร้ท่อใน มนุษย์มีทั้งหมด 9 ต่อม ดังนี้
1. ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
2. ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
3. ต่อมพาราไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
4. ตับอ่อนส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
5.ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1. Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
2.Mineralocorticoidhormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
3.Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4.อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ ในเพศชายคือ อัณฑะ ในเพศหญิงคือรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ดังนี้
1) ฮอร์โ

CM4869

จำนวนข้อความ : 38
Join date : 26/01/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ