Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

อนุกรมวิธาน (Plant taxonomy

Go down

อนุกรมวิธาน (Plant taxonomy Empty อนุกรมวิธาน (Plant taxonomy

ตั้งหัวข้อ  CM4869 Wed Feb 09, 2011 10:37 pm

อนุกรมวิธาน (Plant taxonomy)

ปรัชญา ศรีสงา
พฤกษอนุกรมวิธาน (Plant taxonomy) หรือ อนุกรมวิธานพืช หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ
การจัดจําแนก (Classification) การตรวจสอบ (Identification) และการตั้งชื่อ (Nomenclature) พืช
เนื่องจากพืชในโลกนี้มีจํานวนมาก ประมาณวามีไมนอยกวา 500,000 ชนิด ีอกทั้งในแตละ
ทองที่อาจมีการเรียกชื่อพืชชนิดเดียวกันแตกตางกันไปตามแตละภาษา หรืออาจมีชื่อเดียวกันแต
หมายถึงพืชตางชนิดกันก็เปนได เพื่อความสะดวกในการนําพืชมาศึกษาและใชประโยชนไดอยาง
ถูกตองตามตองการ จึงมีความจําเปนอยางมากที่จะตองมีหลักเกณฑเพื่อปองกันความสับสน เปน
สื่อกลาง สื่อความหมายใหเขาใจไดตรงกัน เมื่อกลาวถึงพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งก็คือ วิชาพฤกษ
อนุกรมวิธาน นั่นเอง
การจัดจําแนกพืช (Plant classification) หมายถึง การแบงพืชออกเปนหมวดหมู โดยการ
นําพืชชนิดตางๆที่มีความคลายคลึงกันหรือมีลักษณะรวมกันมาจัดรวมไวในกลุมเดียวกัน
การจัดจําแนกพืชนั้นมีดวยกันหลายระบบ ในที่นี้จะยกตัวอยางการจัดจําแนกพืชตามระบบ
ของ Cronquist (1971) อางใน อบฉันทไทยทอง (2538) ซึ่งนักพฤกษศาสตรสวนใหญไดถือปฏิบัติตาม
อาณาจักรพืช Kingdom Plantae แบงเปน 2 อาณาจักรยอย (Subkingdom)
1. อาณาจักรยอย Thallobionta แบงเปน 9 หมวด (Division)
1.1. หมวด Schizophyta ไดแก แบคทีเรีย (> 1,000 ชนิด) สาหรายสีเขียวแกมน้ําเงิน
(> 1,500 ชนิด)
1.2. หมวด Chlorophyta ไดแกสาหรายสีเขียว (> 6,500 ชนิด) เชน สาหรายไฟ เทา ไก
1.3. หมวด Euglenophyta (> 500 ชนิด) เชน ยูกลีนา (Euglena)
1.4. หมวด Pyrrophyta ไดแก ไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellate) (> 1,000 ชนิด)
1.5. หมวด Cryptophyta (> 100 ชนิด)
1.6. หมวด Chrysophyta (> 10,000 ชนิด) เชน ไดอะตอม (Diatom)
1.7. หมวด Phaeophyta ไดแกสาหรายสีน้ําตาล (> 1,500 ชนิด)
1.8. หมวด Rhodophyta ไดแกสาหรายสีแดง (> 3,500 ชนิด)
1.9. หมวด Mycophyta ไดแก เห็ด รา ียสต (> 40,000 ชนิด)

นอกจากนี้ยังมีราบางพวกที่อยูรวมกันกับสาหรายสีเขียวแกมน้ําเงินหรือสาหรายสีเขียว มี
รูปรางลักษณะเฉพาะ ที่เรียกวา ไลเคน (Lichen) ีอกไมนอยกวา 17,000 ชนิด
2. อาณาจักรยอย Embryobionta แบงเปน 8 หมวด (Division)
2.1. หมวด Bryophyta ไดแกมอส ลิเวอรเวิรต ฮอรนเวิรต (> 25,000 ชนิด)
2.2. หมวด Rhyniophyta เปนกลุมพืชโบราณ  ปจจุบันสูญพั  นธุไปหมดแลว
2.3. หมวด Psilophyta (3-4 ชนิด) เชน หวายทะนอย (Psilotum nudum L.)
2.4. หมวด Lycopodiophyta (730 ชนิด) เชน สามรอยยอด (Lycopodium cernuum L.)
พอคาตีเมีย (Selaginella sp.)
2.5. หมวด Equisetophyta (25 ชนิด) เชน หญาถอดปลอง (Equisetum debile Roxb. ex Vaucher)
2.6. หมวด Polypodiophyta ไดแก เฟรน (> 10,000 ชนิด)
2.7. หมวด Pinophyta (> 780 ชนิด) เชน ปรง สน แปะกวย มะเมื่อย
2.8. หมวด Magnoliophyta ไดแกพืชมีดอก (> 250,000 ชนิด)
ตัวอยางการจัดจําแนกพืชถึงลําดับชนิดของ จําป (Michelia alba DC.) จําปา (Michelia
champaca L.) มณฑาดอย (Manglietia garrettii Craib) และยี่หุบ (Magnolia coco (Lour.) DC.)
พืชทั้งสี่ชนิดนี้มีลักษณะรวมกันจึงไดถูกจัดใหอยูในกลุมเดียวกัน กลาวคือ
- เปนพืช จัดอยูในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
- เปนพืชที่มีระบบทอลําเลียงน้ําและอาหาร และมีดอก จัดอยูในหมวดพืชมีดอก
(Division Magnoliophyta)
-  เปนพืชที่มีระบบทอลําเลียงน้ําและอาหาร มีดอก และตนออนมีใบเลี้ยง 2 ใบ จัดอยูใน
ชั้นพืชใบเลี้ยงคู (Class Magnoliopsida)
- เปนพืชที่มีระบบทอลําเลียงน้ําและอาหาร มีดอก ตนออนมีใบเลี้ยง 2 ใบ และมีกลีบ
ดอกซึ่งแตละกลีบแยกเปนอิสระตอกัน จัดอยูในอันดับพืชกลุมจําปจําปา มณฑา ยี่หุบ กระดังงา
สายหยุด (Order Magnoliales)
- เปนพืชที่มีระบบทอลําเลียงน้ําและอาหาร มีดอก ตนออนมีใบเลี้ยง 2 ใบ มีกลีบดอกซึ่ง
แตละกลีบแยกเปนอิสระตอกัน และกลีบเลี้ยงไมสามารถแยกออกไดชัดเจนจากกลีบดอก จัดอยูใน
วงศจําปจําปา มณฑา ี่ ยหุบ (Family Magnoliaceae)
- เปนพืชที่มีระบบทอลําเลียงน้ําและอาหาร มีดอก ตนออนมีใบเลี้ยง 2 ใบ มีกลีบดอกซึ่ง
แตละกลีบแยกเปนอิสระตอกัน กลีบเลี้ยงไมสามารถแยกออกไดชัดเจนจากกลีบดอก ดอกออกเปน
ดอกเดี่ยวที่ยอด และมีไขออนจํานวน 4 เมล็ดหรือมากกวาในแตละรังไข จัดอยูในสกุลมณฑา
(Genus Manglietia) ถาดอกออกเปนดอกเดี่ยวที่ยอดเชนกัน แตมีไขออนจํานวน 2 เมล็ดในแตละ
รังไข จัดอยูในสกุลยี่หุบ (Genus Magnolia) แตถาดอกออกเปนดอกเดี่ยวที่ซอกใบ จะจัดอยูในสกุล
จําปจําปา (Genus Michelia)
ถึงแมวา จําปและ จําปา จะมีลักษณะสวนใหญรวมกัน และถูกจัดใหอยูในสกุลเดียวกัน
เนื่องจากมีลักษณะรวมกันมากกวามณฑาดอย และยี่หุบ แตก็ยังคงมีความแตกตางกันจึงไมไดถูกจัด
ใหเปนชนิดเดียวกัน
เมื่อนํา จําปจําปา มณฑาดอย และยี่หุบ มาเขียนเรียงเปนหมวดหมูจะจัดจําแนกไดดังนี้
อาณาจักร (Kingdom) พืช (Plantae)
หมวด (Division) พืชมีดอก (Magnoliophyta)
ชั้น (Class) พืชใบเลี้ยงคู (Magnoliopsida)
อันดับ (Order) พืชกลุมจําปจําปา มณฑา กระดังงา สายหยุด (Magnoliales)
วงศ (Family) จําปจําปา มณฑา ยี่หุบ (Magnoliaceae)
สกุล (Genus) จําปจําปา (Michelia)
มณฑา (Manglietia)
ยี่หุบ (Magnolia)
ชนิด (Species) จําป (Michelia alba DC.)
จําปา (Michelia champaca L.)
มณฑาดอย (Manglietia garrettii Craib)
ยี่หุบ (Magnolia coco (Lour.) DC.)
การตรวจสอบพืช (Plant identification) หมายถึง การวิเคราะหวาพืชนั้นๆมีชื่อเรียกวา
อะไร ซึ่งสามารถตรวจสอบไดหลายวิธีเชน
- เปรียบเทียบกับพืชที่เก็บเปนตัวอยางอางอิงในหอพรรณไม วาเปนชนิดเดียวกันหรือไม
โดยพิจารณาจากรูปพรรณทั้งหมดของพืช  เชนลักษณะลําตน ใบ ดอก ผล และเมล็ด วาเหมือนกัน
หรือไม
- ตรวจสอบกับเอกสารทางพฤกษอนุกรมวิธาน โดยใชรูปวิธาน (Identification key) และ
อานคําบรรยายลักษณะ (Description) วามีลักษณะตรงกับพืชชนิดใด
ตัวอยางรูปวิธานในการตรวจสอบพืชวาเปน จําปจําปา มณฑาดอย หรือ ยี่หุบ
1. ดอกออกเปนดอกเดี่ยวที่ยอด
2. มีไขออนจํานวน 4 เมล็ดหรือมากกวาในแตละรังไข มณฑาดอย
2. มีไขออนจํานวน 2 เมล็ดในแตละรังไข ยี่หุบ
1. ดอกออกเปนดอกเดี่ยวที่ซอกใบ
3. ดอกสีขาว จําป
3. ดอกสีสมหรือสีเหลือง จําปา
การตั้งชื่อพืช (Plant nomenclature) หมายถึง การกําหนดใหพืชนั้นๆมีชื่อเรียกวาอะไร
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการประมวลรายชื่อพืชที่มีการตั้งไวแลววา เปนชื่อที่ซ้ําซอนกันหรือไม
โดยพืชที่จะตั้งชื่อใหนั้นตองไมเคยไดรับการตั้งชื่อมากอน มีการแปลงเ  ปนภาษาละติน ชื่อ
ที่ตั้งใหมนั้นจะตองไมซ้ํากับชื่อพืชที่มีการตั้งไวกอนแลว และจะตองตั้งชื่อใหถูกตองตามหลักสากล
ที่มีการยอมรับโดยทั่วไปซึ่งการตั้งชื่อพืชในปจจุบันนี้เราใชระบบทวินาม (Binomial nomenclature)
ตัวอยางเชน จําป มีชื่อตามหลักสากล (ชื่อวิทยาศาสตร) วา Michelia alba DC. ซึ่ง Michelia
หมายถึง พืชในสกุล (Genus) จําปจําปา ชื่อสกุล Michelia นี้ตั้งใหเปนเกียรติแก Pier (Pietro)
Antonio Micheli (1679-1737) นักพฤกษศาสตรชาวอิตาเลียน สวน Michelia alba หมายถึง พืชที่มี
ชื่อในภาษาไทยวา จําป คําวา alba แปลวา ี สขาว สวน DC. เปนชื่อยอของนาย Augustin Pyramus
de Candolle (1778-1841) นักพฤกษศาสตรชาวสวิส ซึ่งเปนคนตั้งชื่อตามหลักสากลของจําป
การศึกษาทางพฤกษอนุกรมวิธานนั้นจําเปนที่จะตองรูจักลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืช
เชน ราก ลําตน ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งมักมีการบรรยายลักษณะในรูปคําศัพทเฉพาะ การทําความ
เขาใจกับความหมายของแตละคําศัพทในการเรียกสวนตางๆของพืชนี้ จึงเปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได
อยางไรก็ตามคําอธิบายความหมายของคําศัพททางพฤกษศาสตรนั้นสามารถหาไดจากเอกสาร
ทางพฤกษอนุกรมวิธาน และหนังสือศัพทพฤกษศาสตร ซึ่งมักจะมีภาพประกอบชวยใหทําความ
เขาใจไดงายขึ้น
ตัวอยางภาพอธิบายคําศัพททางพฤกษศาสตรจากราชบัณฑิตยสถาน (2541)
สวนตางๆ ของพืช
๑. ดอก (flower)
๒. ผล (fruit)
๓. ใบ (leaf)
๔. กานใบ (petiole)
๕. ขอ (node)
๖. ตน (stem)
๗. รากแกว (tap root)
๘. รากแขนง (lateral
root)
เอกสารอางอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. 2541. ศัพทพฤกษศาสตร อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
อบฉันทไทยทอง. 2538. อาณาจักรพืช. ใน อนุกรมวิธานพืช อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. หนา
1-5. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

CM4869

จำนวนข้อความ : 38
Join date : 26/01/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ